วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

[Special] วัฒนธรรมเกาหลี (กีฬา ประเพณีฯ)

ประเทศเกาหลีเป็นคาบสมุทรที่ทอดตัวลงใต้จากศูนย์กลางชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย คาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยพื้นที่ประมาณ 220,000 ตารางกิโลเมตรกับเกาะใหญ่น้อยประมาณ 3,400 เกาะเรียงรายตลอดชายฝั่ง
ณ เวลานี้ประเทศเกาหลีเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังคงถูกแบ่งแยกตามภูมิศาสตร์และลัทธิการปกครอง มีประชากรทั้งหมดประมาณเจ็ดสิบล้านคนทั้งในประเทศเกาหลีเหนือและใต้ และไม่นานมานี้เองที่มีความก้าวหน้าที่เด่นชัดหลายประการในการร่วมมือและรวมประเทศเข้าด้วยกัน
คำว่า "เกาหลี" นี้ใช้อ้างอิงทั้งประเทศเกาหลีเหนือและใต้ ประเทศเกาหลีใต้ ณ ที่นี้ หมายถึงสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งมีประชากร 48 ล้านคนในจำนวนนี้ 10 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโซลซึ่งเป็นเมืองหลวง กรุงโซลนั้นประการศักดาว่าเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน 600 ปี และในปี 1988 ก็มีชื่อเสียงไปทั่วโลกว่าเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 24 ประเทศเกาหลีเป็นเป้าแห่งความสนใจจากทั่วโลกอีกครั้งเมื่อได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับประเทศญี่ปุ่นในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี 2002
ประเทศเกาหลีมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาชาวเกาหลีเองได้เรียกผืนแผ่นดินแห่งนี้ว่า คึมซูกังซาน (geumsugangsan) หรือ "ผืนพรมทองแห่งแม่น้ำและภูเขา" ความน่าพิศวงของผืนแผ่นดินนี้ถ่ายทอดผ่านแต่ละช่วงฤดูกาลด้วยทัศนียภาพที่แตกต่างกันไป ภูมิอากาศของเกาหลีซึ่งแบ่งออกเป็นฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวนั้นมีความแตกต่างกันมากทีเดียว คือช่วงฤดูหนาวโดยปกติจะกินเวลายาวนาน ฤดูร้อนสั้นกว่า และฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่สั้นที่สุด ช่วงเวลาฝนตกจะเป็นระหว่างฤดูร้อนในช่วงเดือนมิถุนายน
ชุดแต่งกายตามประเพณีของชาวเกาหลีคือ ฮันบก (Hanbok) ชุดที่ใช้แต่งกายในฤดูหนาวนั้นใช้ผ้าที่ทอจากฝ้ายและกางเกงยาวที่มีสายรัดที่ข้อเท้าซึ่งช่วยในการเก็บความร้อนของร่างกาย ในขณะที่ช่วงฤดูร้อนจะใช้ผ้าป่านลงแป้งแข็งหรือผ้ารามีซึ่งช่วยในการซึมซับและการแผ่ซ่านของความร้อนในร่างกายให้มากที่สุด
อาหารเกาหลีก็ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบรับกับภูมิอากาศ ในภูมิภาคที่ฤดูหนาวกินเวลานาน เทคนิคการถนอมอาหารพิเศษได้ถูกวิวัฒน์ขึ้นเพื่อเก็บรักษาวิตามินในสูตรอาหารประเภทผัก กิมจิเป็นตัวอย่างอันเป็นสัญลักษณ์ของอาหารหมักดอง ความจริงที่ว่ากิมจิจะมีรสเค็มขึ้นถ้าใครนำมันจากทางเหนือที่หนาวเย็นมาสู่ทางใต้ที่อบอุ่นกว่านั้นเป็นเกี่ยวข้องกันมากกับลักษณะของอากาศ
อิทธิพลของภูมิอากาศยังบ่งบอกถึงสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันของเกาหลี บ้านแบบเกาหลีจะมี ออนดอล (Ondol) ซึ่งทำปฏิกิริยาภายใต้พื้นเพื่อช่วยเพิ่มความร้อนฤดูหนาว และโดยทั่วไปบ้านจะมีหลังคาต่ำ มีห้องเล็กและผนังหนา มีหน้าต่างและประตูเปิดสู่ภายน้อยซึ่งมักจะทำเป็นสองชั้น บ้านเกาหลีโบราณจะมีห้องโถงเปิดพื้นเป็นไม้ซึ่งสมาชิกในครอบครัวจะใช้เวลาส่วนใหญ่ที่นี่ในช่วงฤดูร้อน ห้องสำหรับอยู่อาศัยนั้นโดยปกติจะอยู่กลางบ้านใหญ่ ห้องรับแขกจะอยู่อีกหลังต่างหาก ห้องครัวก็สร้างเป็นหลังต่างหากและถูกออกแบบให้ใช้งานได้หลายอย่างนอกจากการปรุงอาหารเพียงอย่างเดียว
เป็นเวลาไม่นานมานี้เองที่เศรษฐกิจของเกาหลีได้ถูกปฏิรูปไปเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ปี 1960 เกาหลีได้เปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมเป็นแบบอุตสาหกรรมที่รุดหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการปฏิวัติแปรเปลี่ยนไป การส่งเสริมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การต่อเรือ การคมนาคม และยานยนต์ซึ่งเป็นแบบอย่างของการพัฒนาประเทศไปทั่วโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการคมนาคมและสารสนเทศนั้นเกาหลีในวันนี้ยืนอยู่แถวหน้าของโลก
ชาวเกาหลีได้สร้างวัฒนธรรมที่โดดเด่นผ่านช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานและมรดกทางวัฒนธรรมอันเด่นเฉพาะตัวก็สามารถพบได้ตลอดคาบสมุทร ชาวเกาหลีให้คุณค่ากับการเรียนรู้และมีชื่อเสียงมากในการอุทิศตนและความมุมานะอุตสาหะ บางทีอาจเป็นเพราะลักษณะเหล่านี้ก็ได้ที่ทำให้พวกเขาสามารถใช้แรงกระตุ้นทางวัฒนธรรมซึ่งนำมาประยุกต์อย่างถี่ถ้วนกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  
กีฬาประเพณี ชาวเกาหลีรักการกีฬาเป็นอย่างมาก 20 ปีมาแล้ว ที่เกาหลีเป็นเจ้าภาพการแข่งขันนานาชาติต่าง ๆ รวมทั้งกีฬาโอลิมปิค ในปี ค.ศ.1988 และฟุตบอลโลก ค.ศ.2002 นอจากนี้นักกีฬาของเกาหลีก็ได้คะแนนยอดเยี่ยมในการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ
นอกจากกีฬาสมัยใหม่เช่นการชิงแชมป์นานาชาติเรือกีฬาฤดูหนาวแล้ว เกาหลียังมีการละเล่นตามประเพณีแบบชาวบ้านและกีฬาแบบต่าง ๆ อันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ การละเล่นหรือกีฬาประเภทนี้จะเล่นกันในโอกาสพิเศษเช่น วัดขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ วันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้าของเกาหลี) หรือวันทาโน๊ะวันที่ 5 เดือน 5 จันทรคติ

การต่อสู้ซีรึม ซีรึม เป็นหนึ่งในกีฬาประเพณีของเกาหลีที่ถูกถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ การเล่นประกอบด้วยนักกีฬา 2 คน ที่ต้องจับเชือกคาดเอวของคู่ต่อสู้ให้มั่น และใช้พลังของตัวเองโยนคู่ต่อสู้ของตัวให้ลงพื้นให้ได้จึงจะเป็นผู้ชนะ
ในปัจจุบัน ซีรึมเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากในหมู่สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีชาวเกาหลีทั้งหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ และทุก ๆ ปีก็จะมีการแข่งขันกีฬานี้บ่อย ๆ 



เบอร์โทร: สมาคมการต่อสู้ซีรึมแห่งเกาหลี (Tel.02-420-4256)
 

เทควันโดเกาหลี
เทควันโดถือกำเนิดในเกาหลีและปัจจุบันเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก มันคือกีฬาที่ต้องใช้ทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะแขน ขา มันไม่ได้เป็นเฉพาะศิลปินการป้องกันตัวเท่านั้น แต่มันคือการเสริมสร้างบุคลิกภาพโดยการฝึกกายและจิต

เทควันโดได้เป็นกีฬาทางการในระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่ซิดนีย์ในปี 2000   
เบอร์โทร: สมาคมเทควันโดเกาหลี (Tel.02-420-4271/3)
Url:
http://www.koreataekwondo.org
การยิงธนู
การยิงธนู คือประเพณีแห่งศิลปะการต่อสู้และขณะเดียวกันก็เป็นการละเล่น ตั้งแต่ยุคสมัยเกาหลีโบราณ การยิงธนูเป็นการแสดงความสามารถที่สำคัญทีเดียว และได้รับการขนานนามว่าเป็นกีฬาชั้นสูง  

ชื่อสถานที่: สมาคมยิงธนูแห่งเกาหลี
เบอร์โทร: (02)420-4261
begin_of_the_skype_highlighting (02)420-4261 FREE  end_of_the_skype_highlighting
 
การละเล่นตามประเพณี
การเล่นว่าว
 การเล่นว่าวเป็นการละเล่นแบบชาวบ้าน ว่าวรูปสี่เหลี่ยม (ย็อน) ทำขึ้นด้วยการขึงไม่ไผ่บนแผ่นกระดาษ ชังโฮจิ ตามขวางและเย็บเข้าติดกันเพียงเท่านี้ ว่าวก็พร้อมจะถูกปล่อย ให้ลอยขึ้นไปในท้องฟ้า

การเล่นว่าวเป็นที่นิยมกันมาก โดยเฉพาะในวันประเพณีต่าง ๆ เช่นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติหรือวันฉลองอื่นของชาวบ้าน มีการชิงชนะเลิศการเล่นว่าวไปหลาย ๆ เมืองในเกาหลี 


นอลตุยกี (กระดานหก)
 กระดานหกเป็นประเพณีการละเล่นแบบชาวบ้านสำหรับสุภาพสตรี วิธีการก็คล้ายกับม้ากระดกแบบตะวันตกนั่นคือ มีแผ่นไม้ยาว ซึ่งส่วนกลางจะตั้งอยู่บนกองฟางที่แห้งแข็ง ผู้เล่นจะมี 2 คน โดยแต่ละคนจะผลัดกันกระโดดลงบนลายไม้แต่ละข้าง การละเล่นนี้มักจะเล่นกันในวันหยุดตามประเพณีต่าง ๆ เช่นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ วันชูซก หรือวันทาโน๊ะ 


คีเนตุยกี (ชิงช้า)
ชิงช้านี้ก็เป็นการละเล่นแบบชาวบ้านอีกอย่างหนึ่งที่นิยมเล่นกันในหมู่สุภาพสตรี เช่นเดียวกับนอลตุยกี และนิยมเล่นกันในวันทาโน๊ะคึเนซึ่งเป็นชิงช้าของเกาหลีทำขึ้นโดยใช้เชือก 2 เส้นผูกติดกับแผ่นไม้และนำไปแขวนติดกับต้นไม้สูง หรือผูกติดกับไม้ซุง ซึ่งต่อเป็นคาน หญิงสาวชาวเกาหลีจะโล้ชิงช้าคึเนนี้ไปได้สูงทีเดียว คึเนตุยกีจึงเป็นการละเล่นที่ชาวบ้านทุกเพศทุกวัยเล่นกันในระดับประเทศ


พาดุก
พาดุกเป็นการละเล่นแบบกระดานโดยมีผู้เล่น 2 คน ในภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า "โก" หรือหมากล้อม และได้รับความนิยมเล่นอย่างแพร่หลาย ในภาคตะวันออกไกล และทั่วโลกซึ่งผลัดกันวางหมากสีขาวและสีดำลงบนกระดาน พาดุกบัดนี้กลายเป็นการละเล่นสากลไปแล้ว และเล่นยากกว่าหมากรุก


ชางกี (หมากรุกเกาหลี)
ชางกีเป็นการละเล่นแบบกระดานคล้ายหมากรุก ซึ่งต้องมีผู้เล่น 2 คน เช่นเดียวกับหมากเดินทำด้วยไม้หรือพลาสติก บรรดานักเล่นหมากรุกทั้งหลายย่อมรู้จักตัวพระราชา เรือ ม้า และเบี้ย อื่น ๆ แต่คงไม่เคยเห็นช้างและปืนใหญ่ซึ่งไม่มีในหมากรุก

การละเล่นนี้และพาดุก ถือว่าเป็นการละเล่นแบบต้องใช้ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีต่าง ๆ ในการเอาชนะคู่ต่อสู้  

ยุทนอริ (การละเล่นแบบไม้ 4 แท่ง)
 ยุทนอริเป็นหนึ่งในการละเล่นที่นิยมเล่นกันในเดือนมกราคมในจันทรคติ และเป็นการละเล่นของเกาหลีแท้ ๆ ยุท เป็นคำ ๆ หนึ่งในเกมส์นี้ (โด, เก, กล, ยุท และโม) หมายความว่า "สี่" เกมส์มีความคล้ายคลึงกับ เกมส์พาชีสิ แต่การเล่นแบ่งออกเป็น 2 ทีม ซึ่งจะเดินหมากไปรอบ ๆ หลังจากการโยนไม้



ที่มา องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี

ไม่มีความคิดเห็น: